คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ

๑. เป็นบทความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและมีความยาวไม่เกิน ๓๐ หน้า

๒. ชื่อบทความและชื่อผู้เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยระบุคุณวุฒิ การศึกษา ตำแหน่งวิชาการและหน่วยงานสังกัดของผู้เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ในเชิงอรรถโดยใช้สัญลักษณ์ *

๓. มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเหมือนกันอย่างละไม่เกิน ๓๕๐ คำ และมีคำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละไม่เกิน ๓ คำ

๔. เอกสารอ้างอิงให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ APA Style

๕. ต้นฉบับบทความให้ใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ดและจัดรูปแบบดังนี้

          ๕.๑ ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านบน ๓.๑๘ ซม. ด้านล่าง ๒.๕ ซม. ด้านซ้าย ๒.๕ ซม. และด้านขวา ๒ ซม. ระยะห่างระหว่างบรรทัด ขนาด ๑ เท่าและเว้นวรรค ๑ ตัวอักษร

          ๕.๒ ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร DB Sathorn Medium ขนาด ๒๒ ตัวหนา อยู่กลางหน้า (หากไม่มีสามารถใช้ TH Sarabun PSK แทนได้)

          ๕.๓ ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด ๑๖ ตัวหนาอยู่ชิดด้านขวา

          ๕.๔ หัวเรื่องบทคัดย่อภาษาไทยคำว่า “บทคัดย่อ” และภาษาอังกฤษคำว่า “Abstract” ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด ๑๖ ตัวหนาอยู่กลางหน้าและแสดง" คำสำคัญ” และ“Keywords” ด้านล่างของบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ชิดด้านซ้าย

          ๕.๕ หัวข้อเรื่องใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด ๑๖ ตัวหนา อยู่ชิดด้านซ้าย

          ๕.๖ เนื้อเรื่องใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด ๑๖

          ๕.๗ เชิงอรรถใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด ๑๓

          ๕.๘ บทความภาษาไทยเนื้อหาและเชิงอรรถใช้เลขไทยบทความภาษาอังกฤษเนื้อหาและเชิงอรรถใช้เลขอารบิค

๖. บทความวิชาการประกอบด้วยชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทย คำสำคัญบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) Keywords บทนำ เนื้อหา บทสรุปและบรรณานุกรม

๗. บทความวิจัยประกอบด้วยชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทย คำสำคัญบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) Keywords บทนำวิธีการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะการวิจัย และบรรณานุกรม

๘. บทความที่ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น

๙. บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์จะได้รับการพิจารณาและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ตามสาขาวิชา จำนวน  ๓ คน และกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมินให้ผู้เขียนบทความทราบภายใน ๓ เดือน บทความที่ผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วจะได้รับการตพิมพ์ในนิตยสารบทบัณฑิตย์เพื่อเผยแพร่ทั้งในรูปเล่มและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิในการบรรณาธิการและลำดับการตีพิมพ์ก่อนหรือหลังการส่งบทความ